การพูดต่อประชุมชน

การพูดต่อประชุมชน
          ในสังคมประชาธิปไตย  บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างกว้างขว้าง  มีโอกาสพูดในสถานที่และโอกาสต่างๆอย่างหลากหลาย  โดยมีวัตถุประสงค์ต่างออกไป  อาจพูดแสวงหาความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการต่อหน้าผู้ฟัง  เป็นจำนวนมากในกลุ่มหรือหรือในสถานที่ส่วนบุคคลหรือในที่สาธารณะ  ผู้ฟังเหล่านั้นอาจเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกับผู้พูดหรือผู้ที่ยังไม่รู้จักกันเลย  อาจมีพื้นฐานความรู้  รสนิยม  สภาพเศรษฐกิจทางสังคม  ตลอดจนเจตคติต่อผู้พูดและหัวเรื่องที่คล้ายกันหรือแตกต่างกัน  ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผู้ฟังที่ผู้ฟังมีต่อผู้พูดจะเกิดขึ้น  ทั้งในขณะที่กำลังฟังอยู่และเมื่อได้ฟังจบแล้ว  ในขณะที่ผู้ฟังอยู่ปฏิกิริยาตอบสนองจะแสดงออกมาเป็นอวัจนภาษา  ผู้พูดที่ดีจะต้องรู้จักสังเกตและตีความให้ได้ว่าผู้ฟังกำลังมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร  การพูดตามที่กล่าวมานี้ เรียกว่าการพูดต่อประชุมชน   (กระทรวงศึกษาธิการ.  ๑๕๘๒๕๕๔)

ประเภทของการพูดต่อประชุมชน

          ข้อควรคำนึงที่สำคัญที่สุดในการพูดต่อประชุมชน  คือ  สารที่ผู้พูดส่งออกไปนั้นไม่จำกัดว่าจะรับฟังได้เฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  เช่น  ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นความลับ  เรื่องที่หยาบโลน  เรื่องที่กล่าวพาดพิงถึงผู้อื่นในทางที่เสียหาย  เรื่องล้อเลียนให้เป็นที่อับอาย
ประเภทของการพูดต่อประชุมชน
          การพูดต่อประชุมชนอาจจำแนกได้หลายวี  อาทิ  ตามวิธีนำเสนอ  ตามความมุ่งหมาย  ตามเนื้อหาที่พูด  ตามโอกาสที่พูด  และตามรูปแบบ 
          กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๔
: ๑๕๙  ได้แบ่งแบ่งตามวิธีนำเสนอ  การพูดต่อประชุมชนอาจจำแนกได้  ๔  ประเภทคือ 
          .  การพูดโดยฉับพลัน  วิธีนี้ผู้พูดไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน  เมื่อทราบจากที่ประชุมว่าตนจำเป็นจะต้องพูด  จึงเตรียมลำดับความคิด  และวิธีนำเสนออย่างฉับพลัน  เช่น  การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส  งานวันเกิด  การชี้แจ้งต่อที่ประชุมเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
          .  การพูดโดยอาศัยต้นร่าง  วิธีนี้ผู้พูดทราบล่วงหน้า  มีเวลาเตรียมร่างที่จะพูดโดยศึกษาผู้ฟังและสถานการณ์แวดล้อมต่างๆไว้ก่อน  และซักซ้อมพูดจนแม่นยำ  รวมทั้งพูดเตรียมอุปกรณ์  เตรียมตัวอย่าง  คำพังเพย  สุภาษิตหรืออุทาหรณ์  ผู้พูดมักจะเตรียมเค้าโครงเรื่องด้วยความระมัดระวัง  ทำให้เกิดความมั่นใจในการพูด  เมื่อถึงเวลาพูดจริงผู้พูดยังอาจแปลงเนื้อหา  ถ้อยคำ  ลีลาให้เหมาะสมกับโอกาส  สถานการณ์  และผู้ฟังได้อีกด้วย
          .  การพูดโดยท่องจำมา  วิธีพูดนี้ผู้พูดเตรียมเขียนต้นฉบับที่ประสงค์จะนำเสนออย่างละเอียดเกือบทุกตัวอักษร  และท่องจำจนขึ้นใจ  ซึ่งใช้เวลามากและไม่เป็นธรรมชาติเพราะถึงแม้จะจำอย่างแม่นยำ  สำเนียงที่พูดมักจะแสดงให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่าเป็นการท่องจำ การที่จะพูดให้เป็นธรราติมีจังหวะการพูดที่ดี  มีชีวิตชีวา  ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการพูดอย่างมาก
          .
  การพูดโดยวิธีอ่านจากร่าง  วิธีนี้ผู้พูดจะเตรียมเขียนฉบับร่าง  วิธีนี้ผู้พูดจะเตรียมเขียนต้นฉบับที่จะปะสงค์จะนำเสนอย่างละเอียดเกือบตัวอักษรเช่นกัน และพยายามทำความเข้าใจเนื้อ  รวมทั้งถ้อยคำที่ใช้  จนเกิดความมั่นใจแต่จะไม่ท่องจำ  ในขณะที่เสนอจะพยายามใช้น้ำเสียงการทอดจังหวะ  การเน้น  และอวัจนภาษาด้วยลีลาที่เป็นธรรมชาติ  ส่วนมากมักใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น  การกล่าวเปิดประชุม  การกล่าวปราศรัย  การกล่าวรายงาน
          เมื่อแบ่งตามความมุ่งหมาย  การพูดต่อประชุมชนจะจำแนกเป็น  ๔  ประเภท  คือ
          .  การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง  ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวต่างๆที่เป็นประโยชน์สำคัญ  การพูดประเภทนี้ผู้พูดอาจใช้วิธีบรรยาย  พรรณนา  เล่าเรื่อง  เล่าเหตุการณ์  อธิบาย  ชี้แจง  เสนอรายงาน  เป็นต้น
          .  การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ  ผู้พูดชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธา  มีความคิดเห็นคล้อยตาม   หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดมุ่งหมายไว้  เช่น  การโฆษณาสินค้า  การพูดหาเสียงหรือหาคะแนนนิยม  การพูดชักจูงเพื่อให้ร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ  เช่น  การบริจาคโลหิต  การทำความสะอาดโรงเรียน  วัด  หรือชุมชน  เป็นต้น
          .  การพูดเพื่อจรรโลงใจ  ผู้พูดมุ่งให้เกิดความนึกคิดละเอียด  ประณีต  หรือพูดเพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น  รวมถึงการพูดเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  คลายจากความตึงเครียดทั้งปวง  ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส  เช่น  การกล่าว  สดุดี  การเล่าประสบการณ์  การเล่านิทาน  การกล่าวปราศรัย  เป็นต้น
          .
  การพูดเพื่อค้นหาคำตอบ  ผู้พูดมุ่งหมายให้ผู้ฟังช่วยขบคิดหาทางแก้ไขปัญหาตามที่ผู้พูดชี้ให้เห็น  เช่น  ก่อนการสัมมนา  มีบุคคลผู้หนึ่งกล่าวชี้ให้ผู้ร่วมสัมมนามองเห็นปัญหาแล้วจะช่วยกันขบคิดต่อไป  การตั้งกระทู้ถามเพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตอบก็ถือว่าเป็นการพูดเพื่อค้นหาคำตอบเช่นกัน
          เมื่อแบ่งตามเนื้อหาที่พูด  การพูดต่อประชุมชนอาจจำแนกเป็น  ๓
  ประเภทกว้างๆ  คือ
          .  การพูดเกี่ยวกับนโยบาย  เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักการ  วิธีการที่จะทำต่อไปในอนาคตตามที่ผู้เสนอเห็นสมควร  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ  เช่น  การนำเสนอโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ระหว่างปิดภาคฤดูร้อนในปลายปีการศึกษา
          .  การพูดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงเปานอย่างไร  ผู้พูดอาจจะชี้ให้เห็นความจริงที่ควรเชื่อหรือควรแก่การยอมรับ  เช่น  สภาพอันรื่นรมย์ของสองฝั่งคลองในอดีต  สภาพแม่น้ำลำคลองก่อนการขยายของตัวเมือง
          .
  การพูดเกี่ยวกับคุณค่าและคุณงามความดี  อาจเป็นเรื่องบุคคล  กลุ่มบุคคลวัตถุ  หรือการกระทำต่างๆ  ที่ยังมีคุณค่าและคุณงามความดีอยู่ในช่วงเวลานั้น  หรือน่าจะยังคงอยู่ต่อไมในอนาคต  เช่น วีรกรรมของบุคคลในอดีต  การกระทำของบุคคลที่น่ายกย่องควรค่าแก่การได้รับรางวัล  โบราณวัตถุและโบราณสถาน  เป็นต้น
          เมื่อแบ่งตามโอกาส  การพูดต่อประชุมชนจำแนกเป็น  ๓  ประเภท คือ
          .  การพูดอย่างเป็นทางการ  มักเป็นคำพูดในพิธีต่างๆ ซึ่งมีการวางแผนหรือแนวปฏิบัติไว้แน่นอน  เช่น  การกล่าวเปิดประชุมวิชาการ  การปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในโอกาสต่างๆ และการให้โอวาทของผู้บริหารศึกษาเนื่องในวันไหว้ครู
          .  การพูดกึ่งทางการ มักเป็นคำพูดที่ลดการเป็นแบบแผนลง  เช่น  การพูดอบรมนักเรียนประจำสัปดาห์  การบรรยายสรุปให้แก่ผู้มาเยี่ยมสถานที่  และการกล่าวขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือกิจการของชุชุมชน
          .
  การพูดอย่างไม่เป็นทางการ  เป็นการพูดในบรรยากาศที่เป็นกันเอง  เช่น  การพูดสังสรรค์วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่า  การพูดเพื่อนันทนาการในระหว่างการเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือเนตรนารี  และการเล่าเรื่องตลกขบขันให้ที่ประชุมฟัง 
          เมื่อแบ่งตามรูปแบบ  การพูดต่อประชุมชนอาจจำแนกออกเป็นที่สำคัญได้ดังนี้
          .  การบรรยาย  เป็นการพูดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น อาจเป็นการบรรยายเดียว  หรือบรรยายหมู่ก็ได้  ผู้บรรยายเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี
          .  การอภิปราย  เป็นการพูดของคระบุคคลจำนวนประมาณ  ๓ – ๕  พูดแสดงความรู้  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อหน้าผู้ฟังเป็นจำนวนมาก
          .
  การโต้วาที  เป็นการพูดแย้งหน้าที่ประชุม  โดยมีการแบ่งผู้พูดเป็น  ๒  ฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเสนอญัตติ  อีกฝ่ายหนึ่งค้านญัตติ  มีผู้ตัดสินชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ


การเตรียมตัวพูดต่อประชุมชน
          . กำหนดจุดมุ่งหมาย  ผู้พุดควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป  และจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่อง  ตัวอย่าง  เมื่อผู้พูดได้รับเชิญให้ไปเล่าประสบการณ์ในการอยู่ค่ายพักแรม  จุดมุ่งหมายทั่วไปเพื่อให้ความรู้  จุดมุ่งหมายเฉพาะก็คือให้ทราบเรื่องราวและกิจกรรมที่จะต้องทำเมื่ออยู่ค่ายพักแรม
          . การวิเคราะห์ผู้ฟัง  การวิเคราะห์ในที่นี้หมายถึงแยกแยะพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน  เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  ตามปกติผู้พูดควรพิจารณาหรือวิเคราะห์ผู้ฟังในด้านจำนวน  เพศ  วัย  สถานภาพทางสังคม  อาชี  พื้นฐานความรู้  ความสนใจ  ความมุ่งหวัง  ตลอดจนเจตคติที่ผู้ฟังมีต่อเรื่องที่จะพูดหรือตัวผู้พูด
          . การกำหนดขอบเขตของเรื่อง  การกำหนดขอบเขตย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเวลาที่จะพูด  มักประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓  ส่วน คือ  การกล่าวนำ  เนื้อเรื่อง  และการสรุป 
          . การรวบรวมเนื้อหา  ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อหาให้พร้อม  เพื่อให้ผู้ฟังจะได้รับประโยชน์มากที่สุด  การรวบรวมเนื้อหานั้นอาจทำได้ด้วยการสัมภาษณ์  สอบถาม  ค้นคว้าจากการอ่าน  และการใช้จินตนาการของตน นอกจากนี้ผู้พูดควรใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆประกอบการพูดด้วย
          . การทำเค้าโครงลำดับเรื่อง  จัดประเด็นสำคัญให้ชัดเจน  เป็นหัวข้อใหญ่และย่อยทั้งนี้เพื่อเป็นการไม่ลืมหรือข้ามประเด็นสำคัญไป
          . การเตรียมวิธีการใช้ภาษา  เลือกใช้ภาษาที่กะทัดรัด  เข้าใจง่าย  ตรงประเด็น  และมีความหมายชัดเจน  ละเว้นคำที่หยาบโลน  ตลกคะนอง   
          . การซักซ้อม  ควรหาเวลาซ้อมการพูดของตนเองเสียก่อน  เมื่อถึงเวลาพูดจริงจะได้เกิดความมั่นใจ  ในการซ้อมนั้นไม่ควรเพ็งเล็งเฉพาะวัจนภาษา  ควรคำนึงถึงอวัจนภาษาซึ่งจะครอบคลุมบุคลิก  ท่ายืน  ท่านั่ง  กิริยาอาการ  การใช้เสียงและการแสดงออกทางใบหน้า  ถ้าขณะซ้อมมีผู้ฟังด้วยยิ่งดี  เพราะจะได้ใช้ฝึกการใช้สายตา  ผู้ฟังอาจจะได้ช่วยการติการพูด  ถ้ามีแถบบันทึกเสียงและภาพอาจใช้เป็นอุปกรณ์ในการช่วยฝึกซ้อมได้อย่างดี


ผลสัมฤทธิ์ทางการพูด

          สัมฤทธิ์ผลของการพูด    หมายถึง การพูดที่ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้ การพูดต่อประชุมชนจะสัมฤทธิผลได้เมื่อผู้พูดมีคุณสมบัติ ดังนี้  (อนงค์  รุ่งแจ้ง.  ๒๕๕๓๑๑๗)
          . ผู้พูดต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม พูดจากความรู้ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ด้วยความเที่ยงธรรม     . ผู้พูดต้องรู้ดีและรู้จริงในเรื่องที่พูด
          . ผู้พูดจำเป็นต้องใช้เหตุผลต่างๆมาสนับสนุนการพูดของตนให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
          . ผู้พูดควรรู้จักธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ โดยคำนึงถึงวัย พื้นฐานความรู้ เป็นต้น
          ๕
. ผู้พูดควรรู้จักรวบรวมความคิดให้เป็นระบบคือ กล่าวอารัมภบท ดำเนินเรื่อง และสรุปให้พอเหมาะ
          . 
ผู้พูดต้องรู้จักใช้ภาษาให้มีประสิทธิผลทั้งในด้านวัจนภาษาและอวัจนภาษา

การวิเคราะห์และประเมินค่าพฤติกรรมการพูดต่อประชุมชน

          . ผู้พูด ควรพิจารณา เรื่อง จุดมุ่งหมายในการพูด การเตรียมตัว วิธีการนำเสนอ คุณธรรม การใช้ภาษา
          . สาร อาจวิเคราะห์จาก เนื้อหาสาร ปริมาณสาร การจัดลำดับสาร
          . 
ผู้ฟัง สิ่งที่ควรวิเคราะห์ คือ ผู้ฟังมีความสนใจและตอบสนองหรือไม่ โดยสังเกตจากการใช้อวัจนภาษาและการซักถามเมื่อพูดจบ สำหรับการประเมินค่าให้พิจารณาประเมินไปตามหัวข้อที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว           

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}

    ตอบลบ